นครฉางซา (Changsha) เป็นเมืองหลวงของ มณฑลหูหนาน และมีคำกล่าวว่า "หากมาจางเจี่ยเจี้ย แล้วไม่ได้มาเมืองฉางซา ก็เหมือนมาไม่ถึงหูหนาน" ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำเซียง และอยู่ทางตอนเหนือติดกับทะเลสาบต้งถิง พรหมแดนด้านตะวันออกติดกับภูเขาลัวเซียว พรหมแดนด้านตะวันตกติดกับภูเขาอูหลิง ด้านใต้ติดกับภูเขาเฮิงชาน นครฉางซาเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งหนึ่งของจีน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของมณฑลหูหนาน
นครฉางซา ตามประวัติศาสตร์ของจีนมีมาตั้งแต่ สมัยสามก๊ก "เมืองฉางซา" เคยเป็นเมืองที่ กวนอู ตั้งตนเป็นใหญ่อยู่นานนับสิบปี และในปัจจุบันนี้เมืองฉางซาเป็นแหล่งผลิตข้าวระดับ 1 ใน 4 ของประเทศจีน มีประวัติศาสตร์อันยาวนานมากกว่า 3,000 ปี ในสมัยราชวงศ์ฉิน (Qin Dynasty) ในราวศตวรรษที่ 3 ก่อนคริศตกาล ราชสำนักได้สั่งการให้มีการจัดตั้งเขตฉางซา (changsha Prefecture) เป็นลักษณะเขตการปกครอง และต่อมาเปลี่ยนชื่อเขตฉางซา เป็นรัฐฉางซา ( State of Changsha) หลักฐานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ยังคงเหลืออยู่ในนครฉางซา ได้แสดงถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานของนครฉางซา เช่น เมื่อปีค.ศ. 1972 - 1974 นักโบราณคดีได้ขุดค้นพบโบราณวัตุจำนวนมากที่สุดของราชวงศ์ฮั่น (The Han Tombs) ที่หม่าหวังตุย (Mawangdui) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขตฉางซา เมืองนครฉางซา เป็นต้น
ในช่วงระหว่างสงครามต่อต้านญี่ปุ่น (The War of Resistance Against Japanese Aggression) ในปีค.ศ. 1937 - 1945 นครฉางซาได้ถูกไฟไหม้ทำลายเสียหายมาก หลังจากที่จีนได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปีค.ศ. 1949 จนปัจจุบันหรือตลอดระยะเวลาประมาณ 50 กว่าปีที่ผ่านมา นครฉางซา ได้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นโดยลำดับ จากเดิมที่เป็นเฉพาะการพาณิชย์ จนมาเป็นเมืองอุตสาหกรรมใหม่แบบครบวงจร ทั้งภาคอุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมก่อสร้าง
ความทันสมัยในการเดินทางระหว่างประเทศจีนด้วยรถไฟความเร็วสูงของจีน
ซีอาร์เอช (CRH) เป็นคำย่อภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม"China Railways High-Speed" หมายถึงรถไฟความเร็วสูงของจีน นอกจากนี้แต่ละขบวนตั้งชื่อว่า"เหอเสียเห้า" (He Xie Hao) ซึ่งหมายความว่า"ขบวนสมานฉันท์" ซีอาร์เอชหรือ"เหอเสียเห้า" นี้เป็นของกระทรวงการรถไฟของจีน ที่เปิดบริการแล้วมีหลายรุ่นอาทิเช่น ซีอาร์เอช1 (CRH1) ซีอาร์เอช2 (CRH2) ซีอาร์เอช3 (CRH3) ซีอาร์เอช4 (CRH4) และซีอาร์เอช5 (CRH5)
ซีอาร์เอช หรือ รถไฟความเร็วสูงของจีน เป็นรถไฟหัวกระสุนความเร็วสูง จัดเป็นรถไฟอีเอ็มยู (EMU, Multpul Unit) ตามการออกแบบมีความเร็วสูง ในอัตรากว่า200 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสามารถวิ่งทำความเร็วได้สูงสุดไม่เกิน350 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ความสะดวกสบายและอัตราความเร็วสูงภายในCRH หรือรถไฟความเร็วสูงของจีน ไม่แพ้บนเครื่องบิน

วัดไคฝูซื่อ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองฉางซา เริ่มสร้างในสมัย 5 ราชวงศ์ ระหว่างปีค.ศ. 907 - 925 ต่อมามีการบูรณะเสริมสร้างใหม่ในสมัยราชวงศ์ซ่งหมิงและชิง จนเป็นวัดใหญ่วัดหนึ่ง ปัจจุบันมีอุโบสถ วิหาร3 สมัย วิหารอนิรุทธเถระ และซุ้มประตูรอบๆ จัดสวยงามภายในมีศิลาจารึกลายพู่กันของพระเจ้ากวางสูแห่งราชวงศ์ชิง
พระโพธิสัตว์กวนอิม อยู่ด้านหน้าของวัด

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดไคฝูซื่อ

พระพุทธรูปหยกขาว มาจากประเทศพม่า

สุสานหม่าหวังตุย ในปีค.ศ. 1972 นักโบราณคดีของจีน ได้ขุดค้นพบศพสมบูรณ์ศพหนึ่งโดยบังเอิญ ในระหว่างการขุดสุสานที่มีอายุในประวัติศาสตร์กว่า 2,000 ปี ที่เขตหม่าหวังตุย ชานเมืองฉางซา ศพนี้เป็นศพของสตรีในตระกูลดี มีอายุประมาณ 50 - 60 ปี ห่อด้วยผ้าแพรไหมหลายชั้น ใส่ไว้ในหีบศพที่มี 6 ชั้น ขณะที่ถูกขุดขึ้นมานั้น ผิวหนังทั้งตัวยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ยังมีขนและผมอยู่ ลายนิ้วมือและนิ้วเท้ายังเห็นได้ชัด กล้ามเนื้อยังมีความยืดหยุ่น ทำให้ผู้ขุดค้นตื่นเต้นมาก ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ ซ่าน เซียนจิ้น ของมหาวิทยาลัยครุศาสตร์หูหนานที่ได้เข้าร่วมงานขุดค้นครั้งนั้น หวนนึกว่า ในฐานะผู้ทำงานด้านโบราณคดี เขาเคยขุดค้นสุสานหลายแห่ง แต่ไม่เคยพบศพโบราณที่รักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งถึงขนาดศาสตราจารย์ซ่านวิเคราะห์ว่า เวลาฝังศพนั้น คนโบราณเอาผ้าไหมห่อศพหลายชั้น และห่อด้วยถ่านไม้กว่า 5,000 กิโลกรัม และดินขาวชนิดหนึ่งอีกจำนวนมาก เพื่อกันน้ำและเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่หีบศพ และเขตเมืองฉางซาไม่ได้เกิดแผ่นดินไหวร้ายแรง ตลอดเวลากว่า 2,000 ปีที่ผ่านมา จึงทำให้ศพนี้ได้รักษาไว้อย่างดี นอกจากนี้ ในหีบศพยังมีของเหลวชนิดหนึ่ง ศาสตราจารย์ซ่านกล่าวว่า สิ่งที่รักษาศพไว้ไม่ได้เน่าเปื่อยนั้น ก็คือของเหลวชนิดนี้เอง"ในศพมีของเหลวสีน้ำตาลชนิดหนึ่ง มีน้ำหนักกว่า 80 กิโลกรัม มีลักษณะเป็นกรด มีส่วนประกอบคือ แอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และปรอทกำมะถัน ซึ่งล้วนเป็นสารกันเสีย" วิธีการรักษาศพโบราณที่ดีที่สุด เลียนแบบภาวะแวดล้อมให้เหมือนกับสภาพที่เพิ่งถูกขุดค้น เนื่องจากในหีบศพชื้นมาก ผู้เชี่ยวชาญจึงได้ประกอบน้ำยากันเสียอย่างหนึ่งเพื่อเอาไปแช่ตัวศพ แล้ววางไว้ในหีบผลึกที่ไล่อากาศออกหมด นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังปรับปรุงอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 0-4 องศา ความชื้นอยู่ระหว่าง 70%-80% เท่ากับสภาพเดิม เวลาผ่านไปกว่า 30 ปีแล้ว ศพหญิงศพนี้ยังรักษาไว้ได้เหมือนกับสภาพเดิม ศาสตราจารย์ หลัว สวยก่าง ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันแพทยศาสตร์เซียงอย่า ของหูหนานที่เข้าร่วมงานดูแลรักษาศพหญิงนี้ได้กล่าวว่า "รูปร่างของศพไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก ในขณะที่ขุดศพนี้ขึ้นมานั้น เราได้ถ่าย X-ray ศพ พบว่า กระดูกรักษาไว้อย่างดี และหลอดเลือดก็ยังไม่แตก" นี่เป็นการจำลองสุสานที่ค้นพบ ที่มีหลายชั้นทำจากไม้แผ่นใหญ่ๆ ชิ้นเดียวที่หาได้ยากในปัจจุบัน มีระบบกันอากาศเข้า มีระบบกันแมลงสัตว์ต่างๆ ที่จะไปทำลายศพ.... ช่องด้านข้าง หัว ท้าย มีการใส่ข้าวของเครื่องใช้ที่หาค่ามิได้ สำหรับผู้ตายเอาไปใช้ในภพหน้าตามความเชื่อของคนโบราณ ในปัจจุบันศพหญิงที่หม่าหวังตุย ยังคงรักษาไว้ในห้องใต้ดิน ที่พิพิธภัณฑ์หูหนาน ขุดขึ้นมาโดยเฉพาะ ห้องนี้ลึกจากพื้นดินลงไป 8 เมตร เลียนแบบสภาพเดิมของสุสาน ในห้องนี้มีเครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น ที่เชื่อมกับระบบควบคุม มีพนักงานเฝ้าดูตลอด24 ชั่วโมง ปัจจุบันฝ่ายพิพิธภัณฑ์กำลังลงมือติดตั้งอุปกรณ์กรองอากาศ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ปลอดเชื้อโรคเสมือนกับห้องผ่าตัด เป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่หีบศพ บรรดาผู้เชี่ยวชาญแสดงเจตจำนงว่า จะพยายามดูแลรักษาศพหญิงศพนี้ ให้คงอยู่ในสภาพเดิมเป็นเวลานานที่สุดเท่าที่จะทำได้
ภาพถ่ายเก่าแสดงถึงโลงศพ รวมทั้งข้าวของเครื่องใช้ที่มีค่าต่างๆ ที่อยู่ภายใน

โลงศพไม้ที่มีขนาดใหญ่มหึมา เกินคำบรรยาย

หุ่นจำลองหญิงสูงศักดิ์

เมืองโบราณเฟิ่งหวง ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของมณฑลหูหนาน สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง มีประวัติกว่า 400 ปี เนื่องจากเขาหนานหัวที่อยู่ทางใต้ของเมืองมีรูปร่างเหมือนหงส์ จึงได้ชื่อว่า "เฟิ่งหวง" แปลว่า "หงส์" ปัจจุบัน เมืองเฟิ่งหวงมีประชากรประมาณ 3 แสนคน ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าถู่เจียและชาวม้ง เวลาเดินอยู่ในตัวเมือง มักจะพบหญิงสาวชาวม้งหรือชาวถู่เจียในชุดชนชาติที่ประดับด้วยลายดอกไม้ เพิ่มความงดงามให้เมืองโบราณแห่งนี้ เฟิ่งหวงเป็นเมืองขนาดเล็ก แบ่งเป็นเมืองเก่ากับเมืองใหม่ เมืองเก่าสร้างขึ้นตามเชิงเขาและมีลำน้ำถัวเจียงไหลผ่าน มีถนนที่ปูด้วยหินสีเขียว 20 กว่าสาย มีกำแพงเมืองโบราณตั้งอยู่ริมน้ำ มีหงเฉียวซึ่งเป็นสะพานเก่าแก่ ที่มีหลังคาคลุมเชื่อมสองฟากฝั่งให้เป็นหนึ่งเดียว
จุดเด่นของเฟิ่งหวง คือ "เตี้ยวเจี่ยวโหล" เป็นบ้านที่ยกพื้นสูงเรียงรายกันตามริมน้ำที่ใสสะอาดจนมองเห็นทุกสรรพสิ่ง เป็นทัศนียภาพที่สวยงาม และเป็นที่นิยมชมชอบทั้งชาวจีนและชาวต่างประเทศ เฟิ่งหวงเป็นเมืองที่กำเนิดอัจฉริยะบุรุษหลายคน นอกจากเสิ่นฉงเหวินซึ่งเป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังแล้ว สง ซีหลิง อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของสาธารณรัฐจีน และนายหวาง หย่งยู่ว์ จิตรกรทีมีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศก็เป็นชาวเฟิ่งหวง บ้านเดิมของเสิ่นฉงเหวิน นักประพันธ์ นักประวัติศาสตร์และนักการศึกษาค้นคว้าโบราณคดีนามอุโฆษของจีน เป็นบ้านที่มีลานบ้านล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ก่อด้วยอิฐทนไฟที่มีสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่นในภาคตะวันตกของมณฑลหูหนาน ซึ่งตกทอดมาจากรุ่นปู่ของเสิ่นฉง เหวิน อดีตผู้บัญชาการทหารประจำมณฑลกุ้ยโจวในสมัยราชวงศ์ชิง ต่อมาจึงสร้างเป็นบ้านเรือนดังกล่าวเนื่องจากเป็นเมืองท่องเที่ยว บ้านเรือนเก่าแก่ของเฟิ่งหวงจึงใช้เป็นสถานที่เปิดบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว บาร์เบียร์ และร้านค้าที่มีเอกลักษณ์ต่างๆ บาร์เบียร์เป็นสถานที่ที่พลาดไปไม่ได้หากไปเฟิ่งหวง เพราะส่วนใหญ่ตั้งอยู่สองข้างของลำน้ำ นั่งชมทิวทัศน์ที่สวยงามท่ามกลางบรรยากาศโรแมนติก มีการตกแต่งที่เรียบง่ายและเป็นธรรมชาติ ไปนั่งอ่านหนังสือ จิบชา จิบเบียร์ หรือเล่นเน็ตก็ได้ พอพลบค่ำ โคมไฟสีแดงของแต่ละร้านที่อยู่สองฝากฝั่งลำน้ำก็สว่างไสว ประดับให้เมืองเก่าแก่แห่งนี้มีความสวยงามยิ่ง บนถนนสายต่างๆของเมืองเก่า มีหญิงชราชาวม้งในชุดประจำชนชาติออกมาตั้งแผงลอยขายผ้าปักข้างๆกำแพงเมืองเก่า ซึ่งเต็มไปด้วยกลิ่นอายแบบโบราณและสดชื่นทุกเช้าพอฟ้าสว่างขึ้น ตามขั้นบันไดลงไปถึงริมลำน้ำ มีหมอกจางๆลอยเรี่ยอยู่บนผิวน้ำ แม่บ้านที่ขยันตื่นแต่เช้ามาซักเสื้อในลำน้ำโดยใช้ไม้ทุบแบบคนสมัยก่อน โคมไฟสีแดงที่แขวนตามร้านทั้งสองฝั่งลำน้ำพริ้วไหวไปมาเบาๆ ท่ามกลางสายลมที่เย็นสบาย
ยามค่ำคืนของเมืองโบราณฟ่งหวง

สิ่งที่น่าซื้อไปฝากเพื่อน น่าจะเป็น น้ำตาลขิง เพราะเมืองเฟิ่งหวง มีร้านขายน้ำตาลขิงหลายสิบเจ้า น้ำตาลขิงใช้วัตถุดิบ คือ น้ำตาลแดง ขิงสด งา และน้ำแร่ น้ำตาลขิงไม่เพียงแต่ทำให้กระเพาะอาหารมีความอุ่น ช่วยให้โลหิตหมุนเวียนดี แก้ไอและขับเสมหะเท่านั้น หากยังมีรสชาติหวานกรอบอร่อยด้วย
ขั้นตอนในการทำน้ำตาลขิง (ที่แสนอร่อย)



หลังจากนั้นก็ดึงให้เป็นเส้นยาวๆ พอดีคำ แล้วส่งให้กับอาม่าที่อยู่ด้านบน

ยังมีของที่ระลึกตามถนนต่างๆ ในเมืองโบราณฟ่งหวงยามค่ำคืนอีกด้วย

