ประเทศลาวอาจแบ่งได้เป็น3 ส่วนคือ ลาวเหนือ ลาวกลาง และลาวใต้ ลาวเหนือในอดีตคืออาณาจักรหลวงพระบาง ลาวกลางคือเวียงจันทน์และลาวใต้คือเมืองจำปาสัก การแบ่งท้องถิ่นเช่นนี้ทำให้ลาวยังสามารถรักษาเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นไว้ได้ หลวงพระบางเมืแงมรดกโลกแห่งนี้จึงแตกต่างจากเวียงจันทน์และเมืองอื่นๆ
ณ สายน้ำโขงที่ไหลซอกซอนเข้าสู่ดินแดนสงบ งดงามแห่งหนึ่งอยู่ในความใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยวเสมอมา นครหลวงพระบางอดีตเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านช้าง เป็นเมืองเก่าแก่และสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของลาว จนได้รับฉายาว่า "หัวใจของแผ่นดินล้านช้าง" ในปีพ.ศ. 2538 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก(UNESCO) ได้ประกาศให้ เมืองหลวงพระบาง เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในฐานะที่ อนุรักษ์ความเก่าแก่ดั้งเดิมไว้ดี่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณเมืองเก่าหลวงพระบางระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำคานบนพื้นที่2 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงวัดเชียงทอง หอพิพิธภัณฑ์ วัดใหม่สุวันนะพูมารามและพระธาตุพูสีได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่19 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีเมื่อเดือนธันวาคมพ.ศ. 2538
ประตูชัย สร้างเสร็จในพ.ศ. 2512 เพื่อสร้างเป็นอนุสรณ์สำหรับผู้เสียชีวิตในการต่อสู้เรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส แม้รูปลักษณ์ภายนอกจะดูคล้าย Arc de Triomphe หรือประตูชัยที่กรุงปารีส แต่ลวดลายปูนปั้นภายในและการตกแต่งด้วยศิลปะลาว ทำให้ประตูชัยมีลักษณะผสมผสานระหว่างตะวันตกและตะวันออก ชั้นบนสามารถขึ้นไปชมวิวทิวทัศน์เมืองเวียงจันทน์ได้โดยรอบ

หอพระแก้ว สร้างโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชในปีพ.ศ. 2094 ครั้งย้ายเมืองหลวงลงมาอยู่ที่เวียงจันทน์ เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ก่อนอัญเชิญมายังกรุงธนบุรีโดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(ต่อมาคือรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) หอพระแก้วถูกกองทัพไทยทำลายในสมัยรัชกาลที่3 และได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดในปีพ.ศ.2485 ปัจจุบันเป็นที่เก็บวัตถุโบราณซึ่งรวบรวมจากหลายแหล่ง มีทั้งโราณวัตถุศิลปะขอม ศิลปะลาว และศิลปะไทย ศิลาจารึกพระธาตุศรีสองรั

เมืองวังเวียง มีแม่น้ำซองไหลผ่านตัวเมืองลักษณะเป็นเขาหินปูนที่รายรอบและถ้ำมากมายในภูเขา ทำให้เกิดกิจกรรมท่องเที่ยวผจญภัยและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเมืองวังเวียง และบ้านผาตั้งเมื่อถึงหลักกิโลมตรที่173 เส้นทางจะผ่านภูมิประเทศหินปูนซึ่งมีความสวยงามแปลกตาเป็นระยะทางนับสิบกิโลเมตรตั้งแต่ผาแดง ผาตั้งและผาฮ้อม

สำหรับผู้ที่ได้มาถึงหลวงพระบางจะพลาดการมาชมวัดเชียงทองมิได้เลยเส้นทางการเดินทางชมเมืองเนื่องจากอยู่สุดถนนสีสะหว่างพอดีตรงบริเวณที่แม่น้ำคานไหลมารวมกับแม่น้ำโขงซึ่งเรียกว่า“ปากคาน” แต่ก็เป็นววัดที่ต้องใช้เวลาเที่ยวชมมากที่สุดวัดเชียงทอง สร้างขึ้นในระหว่างปีพ.ศ. 2102-2103 ในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชถือว่าเป็นวัดที่โดดเด่นที่สุดบนแผ่นดินลาวและนับเป็นตัวแทนที่สมบูรณ์ที่สุดของศิลปะสกุลช่างล้านช้าง
ปีพ.ศ.2428 เมื่อครั้งพวกฮ่อธงดำบุกปล้นเมืองหลวงพระบาง ทัพฮ่อซึ่งนำโดย คำฮุม เจ้าเมืองไล ได้ตั้งค่ายอยู่ที่วัดเชียงทอง คำฮุมนั้นเคยบวชเป็นจัวหรือเป็นเณรอยู่ที่วัดนี้ ดังนั้นจึงรู้ทางเมืองหลวงพระบางและรู้จักชัยภูมิแถบบ้านเมืองเชียงทองเป็นอย่างดี วัดเชียงทองเป็นวัดสำคัญแห่งเดียวที่ไม่ถูกเผาในศึกครั้งนั้น ชาวลาวกล่าวว่าเป็นเพราะคำฮุมรู้บุญคุณครั้งที่บวชเรียนอยู่ที่วัดเชียงองแห่งนี้ แต่บ้างก็ว่าเป็นเพราะทัพฮ่อใช้วัดนี้เป็นที่ตั้งค่ายจึงไม่ได้เผาทิ้ง
ลักษณะศิลปะและสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ในวัดเชียงทองที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน สร้างขึ้นเมื่อมีการบูรณะครั้งใหญ่ในปีพ.ศ. 2471 สมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์และต่อมาถึงเจ้ามหาศรีสว่างวัฒนาซึ่งเป็นกษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายในอาณาจักรลาว ที่ให้ความอุปถัมภ์แก่วัดเชียงทองมากเป็นพิเศษ ศิลปะล้านช้างในวัดเชียงทองที่ปรากฏเด่นชัดได้แก่ สิมหรืออุโบสถของวัดเชียงทองนั้นจะมีหลังคาซ้อนกันสามชั้นเรียกว่า หลังคาปีกนก ป้านลมอ่อนช้อย โค้งยาวลงมาเกือบจดฐาน ทำให้มองดูเหมือนเตี้ย ถือเป็นรูปแบบศิลปะล้านช้างอันงดงามและสมบูรณ์ที่สุดในประเทศลาว ภายในสิมมีภาพจิตรกรรมฝาผนังลายรดน้ำ ส่วนภายนอกเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาเช่น ไตรภูมิ ทศชาติ ส่วนภายในเป็นภาพนิทานพื้นบ้านเช่นเรื่องท้าวจันทะพานิด ภาพฝาผนังนี้ใช้เทคนิคปิดทอง ซึ่งเรียกแบบชาวลาวว่า“พอกคำ"
วัดวิชุนราช สร้างโดยพระเจ้าวิชุนราชในปีพ.ศ.2046 เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบางและตั้งชื่อวัดตามพระนามของพระองค์เอง ตัวสิมหรืออุโบสถเป็นงานสกุลช่างไทยลื้อหากแต่บานประตูตูเป็นไม้แกะสลักในแบบเชียงขวางสังเกตได้จากภาพการแกะสลักรูปพระพรหม แสดงการนุ่งห่มผ้าแบบเบี่ยงทิ้งชายซึ่งเป็นลักษณะแบบเชียงขวาง ภายในสิมนอกจากพระประธานองค์ใหญ่แล้ว ด้านข้างและด้านหลังองค์พระมีพระพุทธรูปทั้งไม้แกะสลักและสำริด รวมทั้งศิลปะวัตถุต่างๆ ซึ่งรวบรวมมาจากวัดร้างทั้งหลายในหลวงพระบาง เนื่องจากที่นี่เคยเป็นหอพิพิธภัณฑ์มาก่อนที่จะย้ายหอพิพิธภัณฑ์ไปที่พระราชวังเดิม ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พระธาตุหมากโม เป็นเจดีย์หรือพระธาตุดอกบัวแต่ชาวลาวทั่วไปเรียกว่า“พระธาตุหมากโม” เนื่องจากเห็นว่ามีรูปทรงคล้ายแตงโมผ่าครึ่งหรือทรงโอ่งคว่ำ แตกต่างไปจากพระธาตุทั้งหลายในเมืองลาว พระนางพันตีนเซียงมเหสีของพระเจ้าวิชุนราชซึ่งเป็นชาวพวนเมืองเชียงขวาง โปรดให้สร้างพระธาตุหมากโมขึ้นในปีพ.ศ. 2057
ถ้ำติ่ง เป็นถ้ำบนผาริมแม่น้ำโขงฝั่งขวาตรงข้ามกับปากแม่น้ำอู ชื่อ“ถ้ำติ่ง” มีที่มาจากการมีหินงอกหินย้อยอยู่มากและเห็นได้ชัดเจนจากฝั่งแม่น้ำ ชาวลาวเรียกหินงอกหินย้อยตามถ้ำว่าหินติ่ง จึงเรียกว่า "ถ้ำติ่ง"
ถ้ำติ่งมีอยู่สองถ้ำคือ ถ้ำติ่งล่างและถ้ำติ่งบน ถ้ำล่างหรือ“ถ้ำลุ่ม” ในภาษาลาว อยู่ที่เหนือจากท่าจอดเรือเล็กน้อย มีพระพทุธรูปตั้งแต่ขนาด10 เซนติเมตรจนถึง1 เมตรครึ่ง ประดิษฐานอยู่มากมาย2,500 องค์ ไม่มีใครบอกได้ว่าพระพุทธรูปเหล่านี้มาอยู่ที่ถ้ำติ่งเป็นเวลายาวนานเท่าใดแล้ว มีทั้งพระพุทธรูปไม้และพระพุทธรูปปูนปั้น ส่วนมากเป็นฝีมือของช่างพื้นบ้าน การนำพระพุทธรูปมาถวายเป็นพุทธบูชาตามถ้ำ เพื่อทำบุญสืบต่ออายุพระศาสนานั้นเป็นความเชื่อซึ่งมีมาแต่โบราณ
จากถ้ำลุ่มมีทางเดินระยะทาง 300 เมตรขึ้นไปยังถ้ำบนหรือ“ถ้ำเทิง” ในภาษลาว ถ้ำเทิงมีพระพุทธรูปเก็บไว้น้อยกว่าถ้ำลุ่มโดยมีราว1,500 องค์ เป็นถ้ำที่ลึกและมืดกว่าถ้ำลุ่ม ด้านหน้ามีไฟฉายบริการนักท่องเที่ยว โดยการบริจาคเป็นค่าบำรุงเพียงเล็กน้อย

น้ำตกกวางซี หรือตาดกวางซี เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของหลวงพระบาง ชื่อของน้ำตกนี้หมายถึงกวางหนุ่มที่เขาเพิ่มงอกเป็นปีแรก ภาษาไทยเรียกว่า กวางซีหรือกวางเขาชี เป็นน้ำตกหินปูน มีแอ่งกว้างเบื้องล่างแต่ไม่อนุญาตให้เล่นน้ำ เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว สายน้ำทิ้งตัวลงมาตามแผ่นผาหินปูนสูงกว่า60 เมตร ทำให้น้ำตกกวางซีเป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในหลวงพระบาง ความงามทางธรรมชาตินี้เป็นสัญลักษณ์หนึ่งเคียงคู่เมืองหลวงพระบางไม่แพ้วัดวาอารามทั้งหลายในตัวเมือง ปลายปีพ.ศ. 2544 ชั้นหินปูนของน้ำตกกวางซีซึ่งทานน้ำหนักของแผ่นดินไม่ไหว ทำให้ลักษณะหน้าผาและสายน้ำของน้ำตกกวางซีเปลี่ยนรูปลักษณ์ไป

ส่วนน้ำตกตาดแส้ เป็นน้ำตกซี่งทีลีลางดงามแตกต่างจากน้ำตกกวางซีด้วยแอ่งน้ำกว้างลดหลั่นลงมาหลายเแอ่ง สามารถลงเล่นน้ำได้สะดวก
ดินแด ดินแดนในประวัติศาสตร์ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์(สมัยโบราณ) จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ยุคใหม่อย่างเมืองเชียงขวาง ซึ่งเป็นชุมชนโบราณอายุหลายพันปีก่อน มีทุ่งไหหินมากมาย เป็นการบอกเรื่องราวของคนในสมัยนั้นหรือว่าปริศนาทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังให้คิดกัน นอกจากนี้ยังได้เจอร่องรอยการสู้รบในสมัยสงคราม ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นใหม่
มหัศจรรย์ที่ทุ่งไหหิน เมืองเชียงขวาง
ร่องรอยผลของสงครามในทุ่งไหหิน เมืองเชียงขวาง สีขาวจะเท่ากับการกู้และตรวจสอบว่าสามารถเดินผ่านได้ หากแต่ส่วนที่เป็นสีแดงเท่านั้นยังไม่สามารถเข้าใกล้ได้ อาจจะมีร่องรอยของลูกระเบิดที่ฝังอยู่ในพื้นดิน
ลากลับการชมภาพสวยๆ ก่อนที่พระอาทิตย์จะตกดิน ณ บริเวณทุ่งไหหิน เมืองเชียงขวาง
.jpg)
ดิน