มะละกา เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ อดีตเคยรุ่งเรืองมากก่อน เพราะเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุด มีการติดต่อค้าขายหรือเป็นเมืองเศรษฐกิจ จนได้รับฉายาว่า Golden Age หรือ ขวานทอง จุดเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของมาเลเซียอยู่หลายครั้ง มีมรดกตกทอดทางสถาปัตยกรรมของชาติยุโรปทั่ว เมืองมะละกา แห่งนี้ “มะละกา” เริ่มต้นจากหมู่บ้านประมงเล็กๆ ที่เปลี่ยนมาเป็นศูนย์กลางการค้าขายเครื่องเทศที่สำคัญที่สุด ระหว่างตะวันออกไปยังตะวันตก มาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเมืองหลวงเก่าแก่ของมาเลเซียที่ เต็มไปด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์ รวมถึงร่องรอยอารยะธรรมตะวันตกที่เมื่อครั้งตะวันตกพบตะวันออก
เรือสินค้าโบราณ
ซึ่งชาวยุโรปเดินทางมาเอเซีย ต้องมาจอดเรือทำการค้าขายที่ ช่องแคบมะละกา ก่อนเดินทางต่อไปสู่ประเทศในคาบสมุทรแปซิฟิก เมื่อประมาณ 600 กว่าปีมาแล้ว เมื่อเจ้าชายปรเมศวร หรือ ปาราเมิสวารา ผู้มีเชื้อสายมาจากราชวงศ์ไศเลนทร์ ได้อพยพออกจากเมืองปาเล็มบังไปอภิเษกกับเจ้าหญิงในราชวงศ์มัชฌปาหิตมา ต่อมาเกิดขบถขึ้นในเมืองมัชฌปา ในปี พ.ศ.1944 จึงลี้ภัยการเมืองมาอาศัยเจ้าเมือง เทมาเส็ค แต่ภายหลัง เจ้าชายปรเมศวรได้ลอบฆ่าเจ้าเมืองเทมาเส็ค ทำให้เจ้าชายปรเมศวร ถูกขับไล่ออกไปจากเมือง จึงหนีมาตั้ง เมืองมะละกา ขึ้นในปี ค.ศ.1403(พ.ศ.1946) เมืองใหม่แห่งนี้กลายเป็นจักรวรรดิการค้าที่ยิ่งใหญ่ ในอีก 200 ปีต่อมา และเป็นแหล่งแรกที่ศาสนาอิสลามเข้าสู่มาเลเซีย ผ่านทางพ่อค้ามุสลิมอินเดียที่มาจากปาไซ และเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบสุลต่าน
ป้อมปืนเอฟาโมซา
ต่อมา ค.ศ.1509 (พ.ศ.2052) โปรตุเกส เดินทางมาถึง“มะละกา” เพื่อขอตั้งสถานีการค้าแต่ถูกปฏิเสธ จนนำไปสู่สงครามระหว่างโปรตุเกส-มะละกา ซึ่งโปรตุเกสเป็นฝ่ายชนะ เมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ.1511 (พ.ศ. 2054) มะละกา ถูก ดัตช์ ยึดครองเมื่อ ค.ศ.1641 (พ.ศ.2184) หลังจากดัตช์ขับไล่โปรตุเกสออกไป ต่อมามะละกากลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ตามสนธิสัญญาแองโกล-ดัตซ์ หรือ สนธิสัญญาอังกฤษ-ฮอลแลนด์ ค.ศ.1824 (พ.ศ.2367) ภายใต้การปกครองของ อังกฤษ มะละกา รวมกับ ปีนัง และ สิงคโปร์ ในชื่อ "นิคมช่องแคบ" ซึ่งแยกต่างหากจากสหพันธรัฐมาเลย์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มะละกา เข้ารวมอยู่ในสหภาพมลายา และกลายเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย เมื่อมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ
"กระบอกปืนใหญ่" ทั่วเมืองมะละกา
"ต้นมะละกา" หรือ "มะขามป้อม"
สถานที่นี้ สร้างขึ้นโดย กัปตันชาวโปรตุเกส ซึ่งเรียกขานสถานที่นี้ว่า Lady of the hill ก่อนที่พวกดัตช์ จะครอบครองดินแดนแห่งนี้ และทำการเปลี่ยนแปลงชื่อเป็น โบสถ์ St. Paul จนเมื่อโบสถ์คริสต์ ที่จัตุรัสแดงสร้างเสร็จ พวกดัตช์ ก็ได้เปลี่ยนสถานที่นี้ ให้เป็นที่ฝังศพของพวกขุนนาง และโบสถ์แห่งนี้ เคยเป็นที่ฝังศพชั่วคราว ของ เซ็นต์ฟรานซิลเซเวียร์ (Saint Francis Xavire)
นักบุญ ฟรานซิล เซเวียร์
ร่องรอยประวัติศาสตร์ที่ "ชาวโปรตุเกส" สร้างไว้
ย้อนประวัติศาสตร์ "ชาวดัตช์" ใจกลางเมืองมะละกา
"ล่องแม่น้ำมะละกา" สายน้ำแห่งนานาชาติ
บรรยากาศยามค่ำคืน ที่เมืองมะละกา
การเดินทาง มีเที่ยวบิน บินตรงหลายสายการบิน ทั้ง MALAYSIA AIRLINE (MH), AIR ASIA (FD) และ การบินไทย (TG)
ทางรถ สามารถนั่งรถไปลงหาดใหญ่ แล้วต่อรถโดยสารเข้าไปมาเลเซียได้เลย ทางรถไฟ สามารถนั่งรถไฟเข้าไปถึงสถานีบัตเตอร์เวอด ในประเทศมาเลเซีย
ทางเรือ สามารถโดยสารเรือจากจังหวัดสตูล ข้ามไปเกาะลังกาวี
การใช้เงิน สกุลเงิน ริงกิต อัตราแลกเปลี่ยน 10 บาท ต่อ 1 ริงกิต (โดยประมาณ)
สภาพอากาศ ร้อนชื้นคล้ายเมืองไทย ยกเว้นบน เก็นติ้งไฮแลนด์ และ คาเมรอนไฮแลนด์ อุณหภูมิเฉลี่ย 14-18 องศา ตลอดปี
อาหาร สไตล์พื้นเมือง ชาชัก สะเต๊ะ โรตี อาหารจีน โดยเฉพาะที่ Penang Rd.จะมีอาหารเจ้าอร่อยเยอะมาก บางเจ้าขายมาแล้วกว่า 30 ปี
วีซ่า คนไทยเข้าไปเที่ยวในมาเลเซียไม่ต้องทำวีซ่า
ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว : ผึ้งติ๊ก / ภาพถ่าย : ผึ้งดาว และ ผึ้งติ๊ก
คุ้มค่า คุ้มราคา คุ้มเวลา กับ บีแฮปปี้ทราเวล สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02-2774429
www.beehappytravel.net , Mobile: 081-9100921 และ 092-4269141